ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ : ทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง มนุษย์ในฐานะทรัพยากร หรือ มนุษย์เป็นทรัพยากร
ความหมายของคำว่า "การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์"
ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ : การทำคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์ โดยให้ความรู้ ความส ามารถและคุณธรรมเต็มตามศักยภาพที่แต่ละคนจะพึงมี
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับชาติ
การกำหนดนโยบายและแผนตลอดจนโครงการและกิจกรรม มีการจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาประชาชนให้มีคุณค่าในด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น มีสุขภาพดี มีการศึกษาดี มีความรู้ดี มีจิตใจดี มีคุณธรรม และมีทักษะที่เหมาะสมกับความต้องการของระบบเศรษฐกิจและสังคม
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับองค์กร
กระบวนการพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้มีความรู้ มีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น ทำให้ตัวบุคคลและองค์กรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือของโครงการ หรือกิจกรรม แต่ละกิจกรรมขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้มีความรู้ มีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น ทำให้ตัวบุคคลและองค์กรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือของโครงการ หรือกิจกรรม แต่ละกิจกรรมขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแง่ที่เป็นทรัพยากร
1. พัฒนามนุษย์ให้เป็นคนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีคุณธรรม จริยธรรม มีเหตุผล มีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานของตนและสังคม
2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการให้ประชาชนอันเป็นทรัพยากรสำคัญมีความสามารถในการจัดการนโยบายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยดำเนินการ ดังนี้
2.1 กำหนดนโยบายทางการคลังและเศรษฐกิจในการให้ประชาชนมีงานทำในรูปแบบต่าง ๆ
2.2 พัฒนาชุมชนเพื่อให้ประชาชนได้มีงานทำในชนบทอย่างพอเพียง ไม่ต้องดิ้นรนไปหางานที่อื่นทำ
2.3 ดำเนินการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีทางเลือกที่จะศึกษาหาความรู้ได้ตามใจชอบ ทุกเวลา ทุกโอกาส และทุกสถานที่ โดยไม่ต้องลากออกจากงานที่กระทำอยู่
3. พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ โดยการรักษาและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ได้ใช้ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศให้มากที่สุด
2.1 กำหนดนโยบายทางการคลังและเศรษฐกิจในการให้ประชาชนมีงานทำในรูปแบบต่าง ๆ
2.2 พัฒนาชุมชนเพื่อให้ประชาชนได้มีงานทำในชนบทอย่างพอเพียง ไม่ต้องดิ้นรนไปหางานที่อื่นทำ
2.3 ดำเนินการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีทางเลือกที่จะศึกษาหาความรู้ได้ตามใจชอบ ทุกเวลา ทุกโอกาส และทุกสถานที่ โดยไม่ต้องลากออกจากงานที่กระทำอยู่
3. พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ โดยการรักษาและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ได้ใช้ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศให้มากที่สุด
4. พัฒนาบริการสังคม โดยการให้การบริการสาธารณูปโภคในด้าน ต่าง ๆ เช่น การสาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ และสวัสดิการต่าง ๆ แก่ประชาชน เพื่อให้มีสุขภาพ พลานามัย และความเป็นอยู่ที่ดี
ประเภทหรือรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มี 4 ประเภท หรือ 4 รูปแบบ ดังนี้
1. พัฒนาด้วยตนเอง
2. พัฒนาด้วยการศึกษาเล่าเรียน
3. พัฒนาด้วยการฝึกอบรม
4. พัฒนาด้วยการพัฒนาสภาพแวดล้อม
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการฝึกอบรม
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการฝึกอบรมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นเพราะเหตุผล ดังต่อไปนี้
1. เป็นกระบวนการศึกษาตลอดชีวิต
2. เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาองค์กร
3. ช่วยให้บุคลากรได้รับการพัฒนา เกิดความรู้ ความชำนาญ ตลอดจนเจตนคติที่ดี ทำให้การปฏิบัติงานได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ
4. เป็นหัวใจของนโยบายการบริหาร
5. เป็นส่วนสำคัญของการนิเทศงาน
6. เป็นการสร้างคุณภาพของบุคคล พัฒนาบุคคลในระดับและกลุ่มวิชาชีพสาขาต่าง ๆ
ขั้นตอนในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม
การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมในสาขาวิชาชีพใด ๆ ก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีขั้นตอนหรือองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. สำรวจข้อมูลพื้นฐาน
2. การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน
3. ร่างหลักสูตร ประกอบด้วย ชื่อหลักสูตร ผู้รับผิดชอบโครงการ หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร กำหนดการอบรม ผู้อบรมหรือวิทยากร ผู้เข้าอบรม ระยะเวลาการอบรม สถานที่อบรม หลักสูตร (โครงสร้างหลักสูตร และเนื้อหาที่จะใช้อบรม) การประเมินผลการอบรม การประเมินหลักสูตร
สำหรับขั้นตอนหรือกระบวนการในการสร้างหลักสูตรหรือพัฒนาหลักสูตรสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความในเว็บบล็อก : การพัฒนาหลักสูตร (2) : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร/ การพัฒนาหลักสูตร (3) : กระบวนการพัฒนาหลักสูตร/ การพัฒนาหลักสูตร (4) : หลักสูตรระยะสั้น
แหล่งอ้างอิง :
นิรมล ศตวุฒิ. 2543. การพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิรมล ศตวุฒิ และคณะ. 2546. ประสบการณ์ภาคสนามในการพัฒนาหลักสูตร.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วัชรี บูรณสิงห์. 2544. การบริหารหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
แหล่งอ้างอิง :
นิรมล ศตวุฒิ. 2543. การพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิรมล ศตวุฒิ และคณะ. 2546. ประสบการณ์ภาคสนามในการพัฒนาหลักสูตร.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วัชรี บูรณสิงห์. 2544. การบริหารหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น