คำว่า “หลักสูตร” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “curriculum” ซึ่งเป็นคำมาจากภาษาละตินว่า “currer” หมายถึง ทางวิ่ง หรือ ลู่วิ่ง มีผู้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้หลากหลาย โดยใช้คำพูดที่แตกต่างกันไปและบางคำพูดก็ให้ความหมายที่เหมือนกัน บางคำพูดก็ให้ความหมายที่แตกต่างกันออกไปบ้าง (นิรมล ศตวุฒิ 2543, 1-3) เช่น
แฟรงกลิน บอบบิท (Frankin Bobbit) 1924
: หลักสูตรประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่เด็กและเยาวชนต้องทำและได้รับประสบการณ์โดยใช้วิธีการพัฒนาความสามารถในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ดี เพื่อเป็นประโยชน์กับชีวิตในวัยผู้ใหญ่และมีคุณลักษณะที่ผู้ใหญ่ควรจะมี
โทมัส ฮอปกินส์ (Thomas Hopkins) 1941
: หลักสูตรคืองานออกแบบโดยคนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับกิจกรรมและชีวิตของเด็กในโรงเรียน มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับชีวิตและการดำรงชีวิต ประกอบด้วยการเรียนรู้ที่เด็กแต่ละคนเลือกรับไว้ และสะสมเป็นประสบการณ์
ราล์ฟ ไทเลอร์ (Ralph Tyler) 1949
: หลักสูตรประกอบด้วยสิ่งที่นักเรียนต้องเรียนรู้ ซึ่งโรงเรียนได้วางแผนและจัดให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาโดยที่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนมีประสบการณ์ และประสบการณ์เรียนรู้ไม่ใช่เนื้อหาในรายวิชา
จอร์ช โบแชพ (George Beauchamp) 1956
: หลักสูตรหมายถึงงานออกแบบของกลุ่มคนในสังคมเพื่อให้เด็กในโรงเรียนได้รับประสบการณ์ทางการศึกษา
ฮิลดา ทาบา (Hilda Taba) 1962
: หลักสูตรเป็นแผนสำหรับประสบการณ์ทางการศึกษา การเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับกระบวนเรียนรู้ และการพัฒนาคนจะมีส่วนในการกำหนดหลักสูตร
เจ แกเลน เซเลอร์ และวิเลียมเอ็ม อเลกซานเดอร์ (J.Galen Saylor and William M.Alexander) 1996&1974
: หลักสูตรหมายถึงโอกาสการเรียนรู้ทั้งหมดที่โรงเรียนจัดให้ หรือเป็นแผนสำหรับให้โอกาสการเรียนรู้เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาและวัตถุประสงค์เฉพาะที่เกี่ยวข้องแก่ประชากรในสังคม โดยโรงเรียนแต่ละแห่งเป็นผู้ดำเนินการ
พีเตอร์ โอลิวา (Peter F.Oliva) 1982
: หลักสูตรเป็นแผนหรือโปรแกรมสำหรับประสบการณ์ทั้งหมดที่จะให้ผู้เรียนได้รับโดยโรงเรียนเป็นผู้นำทางให้
แดเนียล แทนเนอร์ และรอเรล แทนเนอร์ (Danial Tanner and Laurel Tanner) 1975
: หลักสูตรประกอบด้วยประสบการณ์การเรียนรู้และผลของการเรียนรู้ที่มีการวางแผนและกำหนดไว้ โดยอาศัยวิธีการให้ความรู้และประสบการณ์ที่มีระบบภายใต้ความรับผิดชอบของโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความเจริญงอกงามด้านส่วนตัวและสังคมอย่างต่อเนื่องและมั่นใจ
คำศัพท์เกี่ยวกับหลักสูตร
ในการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับหลักสูตร มีคำศัพท์ที่เกี่ยวกับหลักสูตรที่ผู้ศึกษาควรทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรโดยตลอด (นิรมล ศตวุฒิ 2543, 5-7) ได้แก่
1. การพัฒนาหลักสูตร (curriculum development) หมายถึง การจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยที่ยังไม่เคยมีหลักสูตรนั้นมาก่อนเลย หรือ การจัดทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิมซึ่งต้องดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการและเป็นขั้นตอน
2. การสร้างหลักสูตร (curriculum construction) หมายถึง การจัดหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยที่ยังไม่เคยมีหลักสูตรนั้นมาก่อน หรือไม่เคยมีหลักสูตรเดิมเป็นรากฐานมาก่อน และต้องดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการและเป็นขั้นตอน
3. การวางแผนหลักสูตร (curriculum planning) หมายถึง การร่างแผนงานการจัดทำหลักสูตรโดยกำหนดเป้าหมายว่าหลักสูตรที่จะจัดทำนั้นทำเพื่อใคร จะพัฒนาบุคลากรเหล่านั้นไปในทิศทางใด ใช้ระยะเวลาการดำเนินการตามหลักสูตรเท่าไร จะมีกระบวนการในการพัฒนาบุคคลเหล่านั้นอย่างไร
4. การออกแบบหลักสูตร (curriculum design) หมายถึง การกำหนดลักษณะและรูปแบบของหลักสูตรให้สอดคล้องกับแผนงานการจัดทำหลักสูตรเพื่อให้หลักสูตรเป็นไปตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ รวบรวมข้อมูลที่มีผลต่อการจัดหลักสูตร จัดหารูปแบบการจัดหลักสูตรหลาย ๆ รูปแบบ ทดสอบว่ารูปแบบใดเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางแผนไว้ในการออกแบบหลักสูตร ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องตอบคำถามต่อไปนี้
จะเลือกเนื้อหาอะไร และอย่างไร
จะจัดเนื้อหาและเรียงลำดับเนื้อหาอย่างไร
จะถ่ายทอดเนื้อหาอย่างไร
จะประเมินผลการเรียนรู้อย่างไร
จะจัดทำเอกสารหลักสูตรอย่างไร
อย่างไรก็ตามคำว่า การวางแผนหลักสูตร และการออกแบบหลักสูตร ได้มีการใช้กันในความหมายเดียวกับ การพัฒนาหลักสูตร และการสร้างหลักสูตรในบางแห่ง กล่าวคือ หมายถึงการดำเนินการจัดทำหลักสูตรอย่างเป็นกระบวนการและเป็นขั้นตอน
5. การจัดหลักสูตร (curriculum organization) หมายถึงการลงมือจัดหลักสูตรตามรูปแบบที่ตัดสินใจเลือกไว้แล้ว โดยดำเนินการตามขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งรูปแบบของหลักสูตรเป็นอย่างไรนั้นจะแสดงออกให้เห็นชัดเจนในขั้นตอนของการจัดเนื้อหาวิชาและประสบการณ์สำหรับผู้เรียน
6. การวิเคราะห์หลักสูตร (curriculum analysis) หมายถึง การตรวจสอบหลักสูตรแยกทีละส่วนในแต่ละองค์ประกอบของหลักสูตร เพื่อดูให้แน่ใจว่าแต่ละส่วนของหลักสูตรครบถ้วน เหมาะสม หรือยังมีส่วนใดบกพร่องอยู่ เพื่อจะแก้ไขให้ครบถ้วน เหมาะสม และสอดคล้องกันยิ่งขึ้น เป็นการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร นอกจากนี้การวิเคราะห์หลักสูตร อาจเป็นการตรวจสอบหลักสูตรแยกทีละส่วนเพื่อการเตรียมการสอน และการประเมินผลการเรียนก็ได้
7. การใช้หลักสูตรหรือการนำหลักสูตรไปใช้ (curriculum implementation) หมายถึง การนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ กล่าวคือ นำหลักสูตรไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ในสถาบันการศึกษา หรือในสภาพจริง
8. การจัดการและการบริหารหลักสูตร (curriculum management and administration) หมายถึง กระบวนการสนับสนุนและเอื้ออำนวยให้การใช้หลักสูตรบรรลุเป้าหมาย เช่น การประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร การเตรียมบุคลากร อาคารสถานที่ งบประมาณ การจัดบริการห้องสมุด หน่วยแนะแนว เป็นต้น
9. การปรับหลักสูตร (curriculum adaptation) หมายถึง การนำหลักสูตรไปปรับใช้ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถาพท้องถิ่น ชุมชน โรงเรียน ผู้เรียน รวมถึงการนำหลักสูตรไปจัดการเรียน
10. การประเมินหลักสูตร (curriculum evaluation) หมายถึง การตัดสินคุณภาพ ประสิทธิภาพ หรือคุณค่าของหลักสูตร ซึ่งต้องมีการกำหนดมาตรฐานสำหรับการตัดสินคุณภาพ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาตรฐานที่กำหนดมาตัดสินคุณภาพข้อมูลเหล่านั้น การประเมินหลักสูตรจะตอบคำถามต่อไปนี้
หลักสูตรช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายทางการศึกษาได้ดีเพียงไร
การใช้หลักสูตรดำเนินการได้ดีเพียงไร
11. การปรับปรุงหลักสูตร (curriculum improvement) หมายถึง การแก้ไขหลักสูตรให้ดีขึ้นเหมาะสมขึ้นหลังจากที่ประเมินหลักสูตรแล้วพบข้อบกพร่องเป็นการแก้ไขเฉพาะประเด็นที่พบข้อบกพร่อง โดยไม่ได้กระทบกับโครงสร้างของหลักสูตร
12. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร (curriculum change) หมายถึง การนำหลักสูตรใหม่มาใช้แทนหลักสูตรเดิม เนื่องจากหลักสูตรเดิมมีข้อบกพร่องมาก หรือล้าสมัยไปแล้ว จึงต้องยกเลิกแล้วจัดทำหลักสูตรใหม่มาทดแทนหลักสูตรเดิม
ส่วนประกอบของหลักสูตร
ในการจัดทำหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรระดับใดก็ตาม จะต้องกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรตามส่วนประกอบ (นิรมล ศตวุฒิ 2543, 10-11) ดังนี้
1. หลักการ เป็นเป้าหมายปลายทางของหลักสูตรนั้น จะบอกให้รู้ว่าหลักสูตรนั้น ๆ จัดขึ้นเพื่ออะไร ซึ่งจะกำหนดไว้ในลักษณะเชิงปรัชญาของหลักสูตร
2. จุดมุ่งหมาย แสดงความคาดหวังของหลักสูตรว่าผู้ที่เรียนจบหลักสูตรนี้แล้วจะมีคุณลักษณะอย่างไร
3. จุดมุ่งหมายเฉพาะ หรือจุดประสงค์ของกลุ่มวิชาและรายวิชา ระบุเฉพาะเจาะจงถึงคุณลักษณะของผู้เรียนเมื่อผู้เรียนจบแต่ละกลุ่มวิชา และแต่ละรายวิชา
4. โครงสร้างของหลักสูตร แสดงภาพรวมของทั้งหลักสูตรว่าได้จัดเนื้อหาและประสบการณ์ของหลักสูตรในลักษณะใด สัดส่วนของเนื้อหาและประสบการณ์ที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นอย่างไร ระยะเวลาการจัดการเรียนการสอนแสดงการแบ่งเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแต่ละเนื้อหาความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ และเวลาโดยรวมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร
5. เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย ขอบเขตเนื้อหาความรู้ที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะได้รับจากการได้ลงมือทำหรือปฏิบัติ และกิจกรรมการเรียนการสอนที่เป็นแนวทางหรือวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้เนื้อหาและประสบการณ์ต่าง ๆ
6. การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วยแนวทางหรือวิธีการวัดผลและประเมินผลว่าผู้เรียนได้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ จุดประสงค์รายวิชา จุดประสงค์กลุ่มวิชา และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้วหรือยัง รวมถึงระยะเวลาการประเมินผล
7. แนวทางการใช้หลักสูตร ให้คำแนะนำแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร ให้ใช้หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร
สำหรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความในเว็บบล็อก การพัฒนาหลักสูตร (3) : กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
แหล่งอ้างอิง :
นิรมล ศตวุฒิ. 2543. การพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิรมล ศตวุฒิ และคณะ. 2546. ประสบการณ์ภาคสนามในการพัฒนาหลักสูตร.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วัชรี บูรณสิงห์. 2544. การบริหารหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
: หลักสูตรประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่เด็กและเยาวชนต้องทำและได้รับประสบการณ์โดยใช้วิธีการพัฒนาความสามารถในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ดี เพื่อเป็นประโยชน์กับชีวิตในวัยผู้ใหญ่และมีคุณลักษณะที่ผู้ใหญ่ควรจะมี
โทมัส ฮอปกินส์ (Thomas Hopkins) 1941
: หลักสูตรคืองานออกแบบโดยคนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับกิจกรรมและชีวิตของเด็กในโรงเรียน มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับชีวิตและการดำรงชีวิต ประกอบด้วยการเรียนรู้ที่เด็กแต่ละคนเลือกรับไว้ และสะสมเป็นประสบการณ์
ราล์ฟ ไทเลอร์ (Ralph Tyler) 1949
: หลักสูตรประกอบด้วยสิ่งที่นักเรียนต้องเรียนรู้ ซึ่งโรงเรียนได้วางแผนและจัดให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาโดยที่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนมีประสบการณ์ และประสบการณ์เรียนรู้ไม่ใช่เนื้อหาในรายวิชา
จอร์ช โบแชพ (George Beauchamp) 1956
: หลักสูตรหมายถึงงานออกแบบของกลุ่มคนในสังคมเพื่อให้เด็กในโรงเรียนได้รับประสบการณ์ทางการศึกษา
ฮิลดา ทาบา (Hilda Taba) 1962
: หลักสูตรเป็นแผนสำหรับประสบการณ์ทางการศึกษา การเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับกระบวนเรียนรู้ และการพัฒนาคนจะมีส่วนในการกำหนดหลักสูตร
เจ แกเลน เซเลอร์ และวิเลียมเอ็ม อเลกซานเดอร์ (J.Galen Saylor and William M.Alexander) 1996&1974
: หลักสูตรหมายถึงโอกาสการเรียนรู้ทั้งหมดที่โรงเรียนจัดให้ หรือเป็นแผนสำหรับให้โอกาสการเรียนรู้เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาและวัตถุประสงค์เฉพาะที่เกี่ยวข้องแก่ประชากรในสังคม โดยโรงเรียนแต่ละแห่งเป็นผู้ดำเนินการ
พีเตอร์ โอลิวา (Peter F.Oliva) 1982
: หลักสูตรเป็นแผนหรือโปรแกรมสำหรับประสบการณ์ทั้งหมดที่จะให้ผู้เรียนได้รับโดยโรงเรียนเป็นผู้นำทางให้
แดเนียล แทนเนอร์ และรอเรล แทนเนอร์ (Danial Tanner and Laurel Tanner) 1975
: หลักสูตรประกอบด้วยประสบการณ์การเรียนรู้และผลของการเรียนรู้ที่มีการวางแผนและกำหนดไว้ โดยอาศัยวิธีการให้ความรู้และประสบการณ์ที่มีระบบภายใต้ความรับผิดชอบของโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความเจริญงอกงามด้านส่วนตัวและสังคมอย่างต่อเนื่องและมั่นใจ
คำศัพท์เกี่ยวกับหลักสูตร
ในการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับหลักสูตร มีคำศัพท์ที่เกี่ยวกับหลักสูตรที่ผู้ศึกษาควรทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรโดยตลอด (นิรมล ศตวุฒิ 2543, 5-7) ได้แก่
1. การพัฒนาหลักสูตร (curriculum development) หมายถึง การจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยที่ยังไม่เคยมีหลักสูตรนั้นมาก่อนเลย หรือ การจัดทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิมซึ่งต้องดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการและเป็นขั้นตอน
2. การสร้างหลักสูตร (curriculum construction) หมายถึง การจัดหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยที่ยังไม่เคยมีหลักสูตรนั้นมาก่อน หรือไม่เคยมีหลักสูตรเดิมเป็นรากฐานมาก่อน และต้องดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการและเป็นขั้นตอน
3. การวางแผนหลักสูตร (curriculum planning) หมายถึง การร่างแผนงานการจัดทำหลักสูตรโดยกำหนดเป้าหมายว่าหลักสูตรที่จะจัดทำนั้นทำเพื่อใคร จะพัฒนาบุคลากรเหล่านั้นไปในทิศทางใด ใช้ระยะเวลาการดำเนินการตามหลักสูตรเท่าไร จะมีกระบวนการในการพัฒนาบุคคลเหล่านั้นอย่างไร
4. การออกแบบหลักสูตร (curriculum design) หมายถึง การกำหนดลักษณะและรูปแบบของหลักสูตรให้สอดคล้องกับแผนงานการจัดทำหลักสูตรเพื่อให้หลักสูตรเป็นไปตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ รวบรวมข้อมูลที่มีผลต่อการจัดหลักสูตร จัดหารูปแบบการจัดหลักสูตรหลาย ๆ รูปแบบ ทดสอบว่ารูปแบบใดเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางแผนไว้ในการออกแบบหลักสูตร ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องตอบคำถามต่อไปนี้
จะเลือกเนื้อหาอะไร และอย่างไร
จะจัดเนื้อหาและเรียงลำดับเนื้อหาอย่างไร
จะถ่ายทอดเนื้อหาอย่างไร
จะประเมินผลการเรียนรู้อย่างไร
จะจัดทำเอกสารหลักสูตรอย่างไร
อย่างไรก็ตามคำว่า การวางแผนหลักสูตร และการออกแบบหลักสูตร ได้มีการใช้กันในความหมายเดียวกับ การพัฒนาหลักสูตร และการสร้างหลักสูตรในบางแห่ง กล่าวคือ หมายถึงการดำเนินการจัดทำหลักสูตรอย่างเป็นกระบวนการและเป็นขั้นตอน
5. การจัดหลักสูตร (curriculum organization) หมายถึงการลงมือจัดหลักสูตรตามรูปแบบที่ตัดสินใจเลือกไว้แล้ว โดยดำเนินการตามขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งรูปแบบของหลักสูตรเป็นอย่างไรนั้นจะแสดงออกให้เห็นชัดเจนในขั้นตอนของการจัดเนื้อหาวิชาและประสบการณ์สำหรับผู้เรียน
6. การวิเคราะห์หลักสูตร (curriculum analysis) หมายถึง การตรวจสอบหลักสูตรแยกทีละส่วนในแต่ละองค์ประกอบของหลักสูตร เพื่อดูให้แน่ใจว่าแต่ละส่วนของหลักสูตรครบถ้วน เหมาะสม หรือยังมีส่วนใดบกพร่องอยู่ เพื่อจะแก้ไขให้ครบถ้วน เหมาะสม และสอดคล้องกันยิ่งขึ้น เป็นการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร นอกจากนี้การวิเคราะห์หลักสูตร อาจเป็นการตรวจสอบหลักสูตรแยกทีละส่วนเพื่อการเตรียมการสอน และการประเมินผลการเรียนก็ได้
7. การใช้หลักสูตรหรือการนำหลักสูตรไปใช้ (curriculum implementation) หมายถึง การนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ กล่าวคือ นำหลักสูตรไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ในสถาบันการศึกษา หรือในสภาพจริง
8. การจัดการและการบริหารหลักสูตร (curriculum management and administration) หมายถึง กระบวนการสนับสนุนและเอื้ออำนวยให้การใช้หลักสูตรบรรลุเป้าหมาย เช่น การประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร การเตรียมบุคลากร อาคารสถานที่ งบประมาณ การจัดบริการห้องสมุด หน่วยแนะแนว เป็นต้น
9. การปรับหลักสูตร (curriculum adaptation) หมายถึง การนำหลักสูตรไปปรับใช้ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถาพท้องถิ่น ชุมชน โรงเรียน ผู้เรียน รวมถึงการนำหลักสูตรไปจัดการเรียน
10. การประเมินหลักสูตร (curriculum evaluation) หมายถึง การตัดสินคุณภาพ ประสิทธิภาพ หรือคุณค่าของหลักสูตร ซึ่งต้องมีการกำหนดมาตรฐานสำหรับการตัดสินคุณภาพ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาตรฐานที่กำหนดมาตัดสินคุณภาพข้อมูลเหล่านั้น การประเมินหลักสูตรจะตอบคำถามต่อไปนี้
หลักสูตรช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายทางการศึกษาได้ดีเพียงไร
การใช้หลักสูตรดำเนินการได้ดีเพียงไร
11. การปรับปรุงหลักสูตร (curriculum improvement) หมายถึง การแก้ไขหลักสูตรให้ดีขึ้นเหมาะสมขึ้นหลังจากที่ประเมินหลักสูตรแล้วพบข้อบกพร่องเป็นการแก้ไขเฉพาะประเด็นที่พบข้อบกพร่อง โดยไม่ได้กระทบกับโครงสร้างของหลักสูตร
12. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร (curriculum change) หมายถึง การนำหลักสูตรใหม่มาใช้แทนหลักสูตรเดิม เนื่องจากหลักสูตรเดิมมีข้อบกพร่องมาก หรือล้าสมัยไปแล้ว จึงต้องยกเลิกแล้วจัดทำหลักสูตรใหม่มาทดแทนหลักสูตรเดิม
ส่วนประกอบของหลักสูตร
ในการจัดทำหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรระดับใดก็ตาม จะต้องกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรตามส่วนประกอบ (นิรมล ศตวุฒิ 2543, 10-11) ดังนี้
1. หลักการ เป็นเป้าหมายปลายทางของหลักสูตรนั้น จะบอกให้รู้ว่าหลักสูตรนั้น ๆ จัดขึ้นเพื่ออะไร ซึ่งจะกำหนดไว้ในลักษณะเชิงปรัชญาของหลักสูตร
2. จุดมุ่งหมาย แสดงความคาดหวังของหลักสูตรว่าผู้ที่เรียนจบหลักสูตรนี้แล้วจะมีคุณลักษณะอย่างไร
3. จุดมุ่งหมายเฉพาะ หรือจุดประสงค์ของกลุ่มวิชาและรายวิชา ระบุเฉพาะเจาะจงถึงคุณลักษณะของผู้เรียนเมื่อผู้เรียนจบแต่ละกลุ่มวิชา และแต่ละรายวิชา
4. โครงสร้างของหลักสูตร แสดงภาพรวมของทั้งหลักสูตรว่าได้จัดเนื้อหาและประสบการณ์ของหลักสูตรในลักษณะใด สัดส่วนของเนื้อหาและประสบการณ์ที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นอย่างไร ระยะเวลาการจัดการเรียนการสอนแสดงการแบ่งเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแต่ละเนื้อหาความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ และเวลาโดยรวมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร
5. เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย ขอบเขตเนื้อหาความรู้ที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะได้รับจากการได้ลงมือทำหรือปฏิบัติ และกิจกรรมการเรียนการสอนที่เป็นแนวทางหรือวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้เนื้อหาและประสบการณ์ต่าง ๆ
6. การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วยแนวทางหรือวิธีการวัดผลและประเมินผลว่าผู้เรียนได้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ จุดประสงค์รายวิชา จุดประสงค์กลุ่มวิชา และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้วหรือยัง รวมถึงระยะเวลาการประเมินผล
7. แนวทางการใช้หลักสูตร ให้คำแนะนำแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร ให้ใช้หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร
สำหรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความในเว็บบล็อก การพัฒนาหลักสูตร (3) : กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
แหล่งอ้างอิง :
นิรมล ศตวุฒิ. 2543. การพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิรมล ศตวุฒิ และคณะ. 2546. ประสบการณ์ภาคสนามในการพัฒนาหลักสูตร.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วัชรี บูรณสิงห์. 2544. การบริหารหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น